หน้าแรก » วิทยาศาสตร์น่ารู้

วิทยาศาสตร์น่ารู้

หน้าที่ของฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออะไร ภายในมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

หน้าที่ของฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออะไร ภายในมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลระบบปฏิบัติการณ์ต่างๆ ที่ใช้ขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ หรือข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์ หรือแฟ้มงานต่างๆ ล้วนถูกเก็บรักษาเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์นี่เอง ดังนั้นจึงบอกได้เลยว่า ฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียวก็ว่าได้ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็คงต้องเทียบว่า ฮาร์ดดิสก์คือสมองส่วนความทรงจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับวันนี้เราจะพาไปดูการทำงานและส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์กัน หัวอ่าน (Head) เป็นส่วนหนึ่งของแขนหัวอ่าน ซึ่งเจ้าหัวอ่านตัวนี้สร้างจากขดลวด เพื่อใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยการรับคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์ ก่อนเกิดความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก และไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสนามแม่เหล็ก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลนั่นเอง แขนหัวอ่าน (Actuator Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ ซึ่งสามารถรับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก โดยต้องทำงานร่วมกับหัวอ่าน จานแม่เหล็ก (Platters) มีลักษณะเป็นจานกลมๆ เคลือบด้วยสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆ ชั้นขึ้นอยู่กับความจุ เจ้าสารแม่เหล็กที่เองที่เป็นข้อมูลต่างๆ ของเรา โดยข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกในลักษณะของเลข 0 และ 1 แผ่นแม่เหล็กนั้นติดกับมอเตอร์สำหรับหมุน (Spindle Motor) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก (Spindle Motor) เป็นตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล ปกติมักมีความเร็วในการหมุนประมาณ 7200 รอบต่อนาที แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทำให้ตัวมอเตอร์มาสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 1 หมื่นรอบต่อนาที …

อ่านต่อ »

กระบวนการเกิดหินงอก หินย้อย เกิดจากอะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

หินงอกหินย้อย คือปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งที่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายๆ พันหรือหมื่นปี ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักเกิดขึ้นในถ้ำหินปูน เพราะมีความชื้นอันเป็นปัจจัยของการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ประเภทนี้ ลักษณะของหินงอกหินย้อยนั้น เป็นหินที่ยื่นหรือหยดเข้าหากันคล้ายกับเป็นของเหลว โดยมากเราเรียกหินที่หยดลงมาจากด้านบนว่าหินย้อย และเรียกหินที่ยื่นขึ้นไปจากทางด้านล่างว่าหินงอก ซึ่งกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดสภาพนี้นั้นสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ 1. หินงอกหินย้อยเกิดจากความชื้นต่างๆ ที่สะสมอยู่ในดิ้น คือเมื่อปลายยุคน้ำแข็ง หิมะเริ่มละลายตัว และความชื้นต่างๆ ก็ไหลมาสะสมในดิน หรือช่องว่างระหว่างดิน กลายเป็นธารน้ำใต้ดิน 2. เมื่อน้ำใต้ดินนั้นรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดกระบวนการสึกกร่อน และเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งเป็นกรดอ่อนชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อหินปูนนั้นเจอกับกรดคาร์บอนิกที่สามารถกัดกร่อนหินปูนได้นั้น ก็จะทำให้เกิดช่องว่างขึ้น เล็กบ้างใหญ่บ้าง ซึ่งเราเรียกช่องว่างที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่า ถ้ำ 3. หินย้อย เกิดได้จากกระบวนการเหล่านี้เอง คือกล่าวกันได้ว่า หินย้อยคือหินปูนที่ จับตัวกันเป็นแท่งหรือแผ่นย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ ซึ่งเมื่อมีน้ำที่มีหินปูนสะสมอยู่หยดลงมาตามรอยแตกหรือรอยแยก ซึ่งเมื่อน้ำนั้นสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป ก็จะทำให้เกิดสารประกอบประเภทคาร์บอเนต จากนั้นเมื่อเกิดการสะสมตัวพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดเป็นแท่งหินที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำ โดยมากมักมีลักษณะกลวงด้านใน 4. หินงอก เป็นกระบวนการที่คล้ายกันก็คือ เกิดจากน้ำที่มีหินปูนสะสมอยู่ที่หยดลงมาจากเพดานถ้ำ สู่ชั้นหินเบื้องล่าง ความที่น้ำนั้นมีตะกอนหินปูนอยู่มาก เมื่อเกิดการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ไปจึงทำให้เกิดสะสมเป็นแท่ง ยื่นไปในอากาศสูงจากพื้นถ้ำ ซึ่งกระบวนการเกิดหินงอกหินย้อยนี้มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นเมื่อเกิดหินย้อยแล้วต้องมีหินงอกด้วย (ยกเว้นถ้ำที่ไม่มีพื้น) และเมื่อมีหินงอกต้องมีหินย้อยด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะเที่ยวชมถ้ำหินงอกหินย้อยนั้น ในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่ พบได้บ่อยทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เช่นถ้ำละว้า จ. กาญจนบุรี …

อ่านต่อ »

วิวัฒนาการของมนุษย์จากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันเป็นมาอย่างไร

เป็นที่รู้กันมนุษย์นั้นเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เพิ่งวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ เพื่อความอยู่รอดกันมาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ แต่ใครจะรู้บ้างว่าแท้จริงแล้วประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของมนุษย์นั้น สามารถนับจากยุคปัจจุบันย้อนหลังไปได้ถึงราว 70 ล้านปีก่อนโน้นเลยทีเดียว โดยสามารถแบ่งออกเป็นยุคที่สำคัญได้ดังต่อไปนี้ 1. ยุคกำเนิด 70 ล้านปีก่อน เป็นช่วงแรกเริ่มของวิวัฒนาการ จากลิงตัวใหญ่ ขนดก ไม่มีหางและเดินหลังค่อม กลายมาเป็นเดินตัวตรง มีขนน้อย และมันสมองเริ่มใหญ่ขึ้น 2. ยุค 20-25 ล้านปีก่อน เป็นยุคที่มนุษย์ยังมีร่างกายเป็นลิง โปรคอนซูล (Proconsul) คือลิงไม่มีหาง มีขนดก ลักษณะไม่ต่างอะไรกับยุคก่อน แต่สามารถยืนลำตัวตั้งตรงได้บ้างแล้ว 3. ยุค 2-5 ล้านปีก่อน เป็นยุคที่เรียกกันว่า ออสตราโลพิธีคัส (Australopithecus) หรือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั่นเองซึ่งรูปลักษณ์ของออสตราโลพิธีคัสนั้น จะสามารถวิวัฒนาการร่างกายได้จนลำตัวตั้งตรง และมีการประดิษฐ์หรือใช้สอยเครื่องมือต่างๆ ที่ทำจากหินได้บ้างแล้ว เช่นกระบอง หรือค้อนที่ทำจากหิน สำหรับการล่าสัตว์ 4. ยุค 400000 ปีก่อน เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟในการให้ความอบอุ่น แสงสว่าง รวมไปถึงการปรุงรสชาติเนื้อสัตว์ให้สุก ก่อนการรับประทาน 5. ยุค 250000 ปีก่อน เป็นยุคที่เรียกกันว่า โฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens) …

อ่านต่อ »

หน้าจอแบบ LCD และ LED แตกต่างกันอย่างไร ซื้อแบบไหนดีกว่ากัน

สำหรับยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีของการชมภาพยนตร์หรือใช้งานในด้านของการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภท Personal Computer หรือ PC ก็มักจะมีการพัฒนาจากการใช้หน้าจอที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อที่ ที่กินขนาดของพื้นที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ มาเป็นหน้าจอที่มีลักษณะแบน หรือที่เราเรียกกันว่าหน้าจอ LCD กันนั่นเอง อีกทั้งมันยังพัฒนาเข้าสู่การงานในลักษณะของโทรทัศน์หน้าจอแบน หรือที่เราเรียกติดปากว่า ทีวี LCD กันอีกด้วยครับ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีหน้าจออีกชนิดหนึ่งที่เราเรียกกันว่าหน้าจอ LED ถือกำเนิดขึ้นมาอีก หน้าจอทั้งแบบ LCD และ LED ต่างก็เป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ในลักษณะที่มีแบบแบนด้วยกันทั้งคู่ ประหยัดเนื้อที่ในการวางเหมือนกัน แต่ก็มีบางคุณสมบัติที่ทำให้หน้าจอทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันมากพอสมควร วันนี้เราจะมาดูความแตกต่างของทั้งหน้าจอ LCD และหน้าจอ LED กันครับว่าแตกต่างกันมากขนาดไหน หน้าจอ LCD คืออะไร? หน้าจอ LCD (Liquid Crystal Display)เป็นหน้าจอที่ใช้การแสดงผลแบบดิจิตอล และใช้วัตถุที่มีลักษณะเป็นของเหลวแทนการใช้หลอดภาพแบบหน้าจอ CRT ในอดีต และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการสร้างแสงสว่าง ภาพที่จะปรากฏบนหน้าจอ เกิดจากฉายแสงของ Back Light ที่ฉายผ่านชั้นกรองแสง และส่งผ่านไปยังคริสตัลที่เป็นของเหลว 3 ส่วนคือ สีแดง เขียว และน้ำเงินตามลำดับจนสามารถสร้างให้ภาพมีลักษณะออกมาเป็นพิกเซลได้ ภาพจาก LCD …

อ่านต่อ »

ภาวะโลกร้อนเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้างในปัจจุบัน

ร้อนๆ ทำไมอากาศปีนี้มันช่างร้อนอบอ้าว อึดอัด และเหงื่อออกมากมาย ปีที่แล้วยังไม่ร้อนขนาดนี้เลย เครื่องปรับอากาศทำงานแต่ก็ช่วยได้เพียงเล็กน้อย ค่าไฟฟ้าก็แพงเหลือหลาย นับวันจะยิ่งแพงขึ้นเรื่อยๆ ปีที่แล้วยังอยู่ได้สบายๆโดยเปิดพัดลม ปีนี้ทำไมแม้กระทั่งเครื่องปรับอากาศยังแทบเอาไม่อยู่… ใช่แล้ว สาเหตุอะไรกันที่ทำไมโลกของเราจึงร้อนขึ้นๆ ในทุกวัน เพราะถ้ารู้สาเหตุก็จะช่วยป้องกันและแก้ไขภาวะโลกร้อน ให้โลกเย็นสบาย ลมพัดเบาๆหอบไอเย็นสร้างความสบายให้กับกายและใจ สำหรับความร้อนนั้นที่สำคัญเพื่อนๆคงรู้แล้วว่ามันก็มาจากดวงอาทิตย์ลูกไฟขนาดใหญ่กว่าโลกค่ะ แต่ถ้าจะไปดับลูกไฟลูกนี้เลย โลกก็จะมืดมิดไร้แสงไฟ… แต่สิ่งที่ทำให้ลูกไฟให้ความร้อนกับโลกได้ในระดับที่พอดีๆ นั่นก็คือ การที่มีชั้นบรรยากาศและลักษณะของพื้นผิวโลกที่ช่วยสกัดกั้นความร้อนดุจเปลวเพลิงรุนแรงให้ส่องมาถึงโลกในระดับที่เหมาะสมกับการให้ความอบอุ่นแบบเบาๆ แต่ทว่าเวลาผ่านไปชั้นบรรยากาศเหล่านี้โดนทำลายขาดความเหมาะสม จึงทำให้แสงเปลวเพลิงร้อนสาดส่องมาสู่ผืนดินได้มากเกินจำเป็น และทำให้อากาศบนโลกใบนี้ร้อนขึ้นนั่นเอง โดยตัวทำลายกำบังแห่งธรรมชาติที่สำคัญนั้นก็เกิดจากการพัฒนาระบบต่างๆ ของมนุษย์เป็นหลัก แม้ว่าในบางครั้งอาจเกิดจากปัจจัยที่เรายับยั้งไม่ได้ เช่น การย่อยสลายของซากวิ่งมีชีวิต ทั้งซากพืชและซากสัตว์ค่ะ แต่สำหรับกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดการเสียสมดุลของกำบังปกคลุมเพลิงร้อน ได้แก่ ก๊าซและของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ จากกทำนาข้าว โดยเฉพาะการทำนาข้าวแบบขั้นบันได ที่นอกจากจะทำลายความสมบูรณ์ของดินแล้ว ความสมบูรณ์ของสภาพอากาศก็ยังถูกทำลายไปด้วยค่ะ การเผาไหม้ต่างๆ รวมทั้งการเผาป่าเพื่อทำเป็นที่ทำกิน การเผาฟางภายหลังจากการเก็บเกี่ยว การเผาไหม้ของน้ำมันในรถชนิดต่างๆ การใช้งานอุตสาหกรรมที่มีการเผาไหม้ของถ่านหินและก๊าซธรรมชาติต่างๆ นอกจากนี้ของใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น สารหล่อเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสารขับดันในเครื่องของกระป๋องที่ถูกออกแบบให้ใช้งานเป็นสเปรย์ อาทิเช่น สเปรย์ดับกลิ่น สเปรย์ฆ่าแมลง สเปรย์เครื่องบำรุงผิวหน้าและผิวกาย ก็ล้วนแล้วแต่จะเป็นสิ่งที่ทำลายอากาศอันงดงามได้มากมายทีเดียวค่ะ โดยทางแก้อาจไม่ใช่การเลิกจนเด็ดขาด หากเป็นการลดให้อยู่ในภาวะสมดุลที่เหมาะสมและลงตัว

อ่านต่อ »