หน้าแรก » Tag Archives: การควบคุมและป้องกันโรคบาดทะยัก

Tag Archives: การควบคุมและป้องกันโรคบาดทะยัก

ปัจจัยเสี่ยงและอาการเริ่มต้นของโรคบาดทะยัก อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

tetanus-symptoms

โรคบาดทะยักหรือ Tetanus เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน หรือในสถานที่ และสิ่งของที่สกปรก ซึ่งมักจะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้ทางบาดแผล และเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการชักหรือเกร็ง ทั้งนี้เพราะเจ้าเชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษขึ้นมาชนิดหนึ่งเรียกว่า toxin ซึ่งสารนี้มีผลต่อระบบประสาท และทำให้เกิดอาการชักขึ้นมานั่นเอง โดยปกติผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายจะแสดงอาการประมาณ 14 วันโดยเฉลี่ย เรามาดูกันครับว่า แผลแบบไหนบ้างที่เสี่ยงต่อการติดโรคบาดทะยัก

1. แผลสดที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆ และไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดีพอ มีฝุ่น น้ำลาย หรือสิ่งของสกปรกติดค้างอยู่ภายในบาดแผล

2. แผลที่เกิดจากการถูกวัสดุที่ไม่สะอาดทิ่มตำหรือบาด เช่น ตะปูขึ้นสนิม กิ่งไม้ มีดขึ้นสนิม

3. แผลที่เกิดจากไฟไหม้

4. แผลที่กดทับและอับ จนเกิดเนื้อตายขึ้น ส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยอัมพาต

5. แผลที่เกิดจากสัตว์ที่เป็นพาหะของเชื้อเช่น หนู ตุ๊กแก ค้างคาว หรือหมาแมวก็อาจเป็นพาหะของโรคได้เช่นกัน

อาการของโรคบาดทะยัก
1. ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงทั้งนี้เพราะเชื้อ toxin นั้นไปจับอยู่กับเส้นประสาทส่วนที่ควบคุมความรู้สึก ส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ศีรษะอย่างมาก รวมไปถึงอาการปวดอย่างรุนแรงที่กรามทั้งสองข้าง ตามมาด้วยอาการกรามค้างอ้าปากไม่ได้ รวมไปถึงการกลืนน้ำลายไม่ได้ ซึ่งสาเหตุนั้นมาจากเชื้อ Toxin นี่เอง

2. มีอาการกล้ามเนื้อเกร็งทั้งร่างกาย เพราะเชื้อจะเข้าไปควบคุมบริเวณกล้ามเนื้อลาย โดยเริ่มแรกนั้นผู้ป่วยจะเริ่มปวดหรือเกร็งที่กล้ามเนื้อบริเวณรอบปากแผลก่อน แต่หลังจากนั้น 1-7 วัน จะลามไปสู่การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย และเมื่อรวมกับอาการปวดกราม-กรามค้าง ก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารหรือน้ำได้ ทั้งนี้เพราะอ้าปากไม่ได้นั่นเอง

3. เนื่องจากกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกิดอาการเกร็ง ดังนั้นสิ่งที่ตามมาคืออาการปวดเมื่อยทั่วร่างกายอย่างรุนแรง และกล้ามเนื้อส่วนที่ช่วยในการหายใจไม่ทำงาน ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเมื่อถึงขั้นตอนนี้

4. มีไข้เหงื่อออก คือผู้ป่วยจะรู้สึกหนาวสั่น แต่ร่างกายนั้นจะมีอุณหภูมิสูงและมีเหงื่อไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา

5. ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็ว

ข้อแนะนำในการป้องกันและรักษาโรคบาดทะยักนี้คือ ไม่ควรปล่อยให้บาดแผลสกปรก เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้นเมื่อได้รับบาดเจ็บหรือมีบาดแผลเกิดขึ้น ให้รีบทำความสะอาดปากแผลให้ทั่วด้วยแอลกอฮอล์และยาฆ่าเชื้อ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเศษดินหรือสิ่งของสกปรกติดค้างอยู่ภายใน รวมไปถึงไม่ควรคลุกคลีกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคมากจนเกินไปนั่นเอง