หน้าแรก » Tag Archives: วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นความดันโลหิตสูง

Tag Archives: วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นความดันโลหิตสูง

เมนูอาหารลดความดันโลหิตสูง ปลอดภัยจากโรคความดันด้วยการคุมอาหาร

เมนูอาหารลดความดันโลหิตสูง ปลอดภัยจากโรคความดันด้วยการคุมอาหาร

มีคนจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ คนอ้วน ผู้ที่มีความเครียดสูง ซึ่งผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ง่ายกว่าผู้ที่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่นในเรื่องของการรับประทานยา การออกกำลังกาย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องดูแลตนเอง โดยเฉพาะในด้านการรับประทานอาหาร ซึ่งต้องให้ความสำคัญและระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากการควบคุมอาหารมีส่วนช่วยให้ความดันโลหิตปรับลดลงมาได้

ในหนึ่งวันผู้ที่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรได้รับเกลือและโซเดียมในปริมาณ 24,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น ปริมาณเกลือและโซเดียมที่ร่างกายได้รับต่อวันไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นทำให้เห็นได้ชัดว่า ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม ซึ่งส่วนใหญ่พบได้ใน

– เครื่องปรุงรสที่มีรสเค็มหรือผสมสารปรุงแต่ง เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ผงชูรส

– อาหารที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารหรือหมักดอง เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า เนื้อเค็ม ไข่เค็ม
ผักดอง อาหารกระป๋อง

– อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอลเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ เพราะจะไปอุดตันหลอดเลือดส่งผลให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้นซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตามไปด้วย

สำหรับอาหารที่ควรรับประทาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อขาว เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ที่ลอกหนังออกแล้ว เพราะมีปริมาณคอลเลสเตอรอลน้อยกว่าสัตว์ที่มีเนื้อแดง และควรรับประทานปลาทะเลน้ำลึก เพราะมีกรดโอเมก้า 3 ที่มีประโยชน์และสามารถลดความดันโลหิตลงได้ ที่สำคัญควรรับประทานผักและผลไม้ เพราะมีโซเดียมในปริมาณที่ต่ำ อีกทั้งยังมีใยอาหารช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ไขมัน และคอลเลสเตอรอล ซึ่งช่วยในการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง สำหรับผักและสมุนไพรที่แนะนำให้รับประทาน คือ ขึ้นฉ่าย กระเจี้ยบแดง ใบบัวบก มะรุม

สุดท้ายทุกคนควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ดูแลรักษาสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียดเพราะความเครียดเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และควรตรวจเช็คสุขภาพโดยแพทย์ทุก 6 เดือน หากพบว่าตนเองมีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงควรรักษาแต่เนิ่นๆ นะคะ